Ecosystem .
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
11/14/2024 12:22pm (UTC)
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ดำรงอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
มี 3 รูปแบบคือ การปรับตัวทางสัณฐาน ทางสรีรวิทยา และทางพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของวิวัฒนาการที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ส่วนใหญ่มักเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากต่างก็มีความต้องการพื้นฐานอย่างเดียวกัน จึงเกิดการแก่งแย่งกันทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การพึ่งพาอาศัยกัน การเป็นปฏิปักษ์กัน และการอยู่แบบเป็นกลาง การอยู่ร่วมกันแบบหลังสุดไม่ปรากฏในสภาพความเป็นจริง เป็นเพียงทฤษฏีเท่านั้น
การพึ่งพาอาศัยกัน มีทั้งชนิดที่ต่างก็ได้รับประโยชน์ทั้งคู่ (ภาวะพึ่งพากัน) และฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด (ภาวะอิงอาศัยกัน)
การเป็นปฏิปักษ์กัน มีหลายลักษณะเช่น การแสวงหาประโยชน์ (แบบล่าเหยื่อและแบบปรสิต) การแก่งแย่งกัน และการต่อต้าน
Ecosystem
หน้าแรก
ส่วนประกอบของระบบนิเวศ
ประเภทของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศป่าไม้
ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด
ระบบนิเวศน้ำเค็ม
บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
ติดต่อ
Today, there have been 6 visitors (7 hits) on this page!
This website was created for free with
Own-Free-Website.com
. Would you also like to have your own website?
Sign up for free