|
|
|
|
|
|
|
|
บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยวิธี
การสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้น ผู้ผลิต คือ พืชสีเขียว แพลงก์ตอนพืช และแบคทีเรียบาง
ชนิด เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหน้าที่ดูดจับแสงมาใช้ ในการสังเคราะห์ด้วย
แสง
พืชบางชนิดนอกจากจะสร้างอาหารได้แล้ว ยังสามารถดักจับสัตว์อื่นเป็นอาหารได้เช่น
หม้อข้าวหม้อแกง ต้นหยาดน้ำค้าง เป็นต้น พืชเหล่านี้จัดเป็นพืชกินแมลง โดยจะปล่อย
เอนไซม์ออกมาย่อยโปรตีนของแมลงแล้วดูดซึมเข้าร่างกาย พืชเหล่านี้พบในที่แห้งแล้ง
2. ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้อง
อาศัยอาหารจากแหล่งอื่นในการดำรงชีวิต ดังนั้น ผู้บรโภค คือ สัตว์ต่างๆ สามารถจำแนกได้
เป็น 4 ประเภท คือ
ผู้บริโภคพืช (Herbivore) เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว
ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) เป็นสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว
ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (Carnviore) เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร
ผู้บริโภคซากพืชและซากสัตว์ (Scarvenger) เป็นสัตว์ที่กินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร
เช่น แร้ง ปลวก ไส้เดือน และมด เป็นต้น
3. ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (Decomposer) หมายถึงสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่สามารถ
สร้างอาหารเองได้ แต่จะได้รับสารอาหารโดยตรงจากการผลิตเอนไซม์มาย่อยสลายซาก
สิ่งมีชีวิตให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ แล้วจึงดูดซึมไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่เหลือก็จะปล่อยออกไป
สู่ระบบนิเวศต่อไป สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น ซึ่งผู้ย่อยสลายสาร-
อินทรีย์ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|